Background



ข้อมูลทั่วไป
ประวัติความเป็นมา
30 พฤศจิกายน 542

0


ตำบลดอน

คำขวัญประจำตำบลดอน

เมืองสร้างบัณฑิต แหล่งอิฐดินเผา ของเก่ากาหลอ หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์พ่อจอม

 

               ตำบลดอนเป็นอำเภอหนึ่งของปานาเระ ไม่มีหลักฐานปรากฏนาชัดว่าจัดตั้งขึ้นเมื่อใด แต่สันนิษฐานจากอุโบสถวัดดอนตะวันออกว่าน่าจะเป็นศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงคาดว่าน่าจะมีอายุประมาณ 400 ปีเศษ

               คำว่า “ดอน” หมายถึงที่สูงเนินหรือโคก ได้มีการเล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่าตำบลดอนนั้นตั้งอยู่บนที่แหลมเป็นแผ่นดินใหญ่ที่ยื่นออกไปสู่ ทุ่งนาซึ่งเป็นที่ลุ่ม การเดินทางติดต่อค้าขายในสมัยก่อนจึงไม่สะดวกนัก ยิ่งในฤดูมรสุมน้ำจะท่วมบริเวณทุ่งนา ราษฎรในตำบลใกล้เคียงเช่น ตำบลควน ตำบลท่าน้ำ และตำบลบ้านนอก ได้เดินทางผ่านมาถึงบริเวณนี้ต่างก็ดีใจ เพราะน้ำท่วมไม่ถึงและก็กล่าวกันเป็นเสียงเดียวกันว่า “ถึงที่ดอนหรือบ้านดอน” และด้วยเหตุนี้เองบุคคลทั่วไปจึงเรียกที่บริเวณนี้ว่าบ้านดอน เป็นที่ตั้งของตำบลดอนจนถึงทุกวันนี้

               ตำบลดอนเดิมมี 6 หมู่บ้าน คือ บ้านยางงาม บ้านป่าระสัก บ้านคลอง บ้านหัวนอน บ้านหัวมะม่วง และบ้านป่ากะพ้อ ตามลำดับ

               เมื่อประมาณ พ.ศ. 2470 ได้รวมตำบลบ้านราวอเข้ากับตำบลดอน  ต่อมาได้รวมตำบลดอน บ้านป่ากะพ้อเข้ากับตำบลบ้านนอก และเมื่อประมาณ พ.ศ. 2485 ก็ได้แยกหมู่บ้านดังกล่าวขึ้นกับตำบลดอนจนถึงปัจจุบัน

               ตำบลดอนตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี มีระยะห่างจากอำเภอปานาเระ ประมาณ 10 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดปัตตานี 30 กิโลเมตร

เนื้อที่ โดยมีเนื้อที่ประมาณ 6,897 ไร่ หรือ 11.18 ตารางกิโลเมตร


หมู่บ้านมีประวัติเล่าสืบต่อกันมา ดังนี้

บ้านราวอ
             สันนิษฐานจากการเล่าสืบทอดกันมา บ้านราวอ เป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลราวอ ซึ่งในสมัยนั้นตำบลราวอมี 3 หมู่บ้าน โดยมีนายบาราเฮง เป็นขุนระวังราวอ และเมื่อรวมตำบลเข้ากับตำบลดอน ก็ตั้งเป็นหมู่ที่ 1 ตำบลดอน บริเวณบ้านราวอเป็นพื้นที่ลุ่มมีน้ำล้อมรอบ เมื่อน้ำแห้งแล้งลง เหลือที่ดินว่างเปล่า พื้นที่ราบ ราษฎรจึงเป็นที่ทำนาส่วนที่สูงจึงใช้เป็นที่อยู่อาศัย เขาตั้งบ้านเรือนอยู่ทั่วบริเวณ

บ้านคลอง

              ประวัติความเป็นมาของบ้านคลอง ไม่ได้บันทึกไว้ชัดเจน สันนิษฐานว่า คำว่าบ้านคลองคงจะเรียกตามลักษณะของพื้นที่ มีการเล่าสืบทอดกันว่า บ้านคลอง เป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลราวอ ลักษณะพื้นที่ทั่วไปจะเป็นลำคลอง สระน้ำหรือบึง มีขนาดใหญ่เต็มไปด้วยผักตบชวา ลักษณะดินจะเป็นดินโคลนชาวบ้านเรียกว่า สลุด และรวมเรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า คลองสลุด เมื่อตำบลราวอรวมกับตำบลดอนจึงตั้งเป็นหมู่ที่ 2 ตำบลดอน ชื่อว่า บ้านคลอง ซึ่งมีเนื้อที่น้อยมาก ด้านทิศใต้มีคลองชลประทานผ่านเป็นแนวยาว ปัจจุบันชาวนาบางส่วนทำนาปีละ 2 ครั้งและเมื่อเสร็จจากทำนา ก็ทำอิฐมอญ และกระเบื้องดินเผา เป็นรายได้เสริมในครอบครัว

บ้านหัวนอน

               คำว่าหัวนอน สันนิษฐานจากการเล่าของราษฎรตำบลดอนเรียกว่าตามลักษณะของพื้นที่คือบ้านหัวนอนนี้จะอยู่ทางทิศใต้ของตำบลดอน หรือบ้านดอนเดิม และประชาชนโดยทั่วไปเวลานอนหลับจะนอนโดยให้ศีรษะอยู่ทางทิศนี้ เมื่อครั้งจัดตั้งเป็นหมู่บ้านจึงให้ชื่อว่าเป็น บ้านหัวนอน

บ้านดอนตะวันออก

               เป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่ ชาวบ้านมาตั้งรกรากอยู่เมื่อใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่จากหลักฐานอุโบสถวัดดอนตะวันออก สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา คาดว่าน่าจะมีอายุประมาณ 400 กว่าปี แต่เดิมนั้นหมู่บ้านนี้เป็นหมู่ที่ 6 ชื่อบ้านป่ากะพ้อ ซึ่งขึ้นอยู่กับตำบลบ้านนอก ชาวบ้านเรียกตามหมู่บ้านตามชื่อของวัด เนื่องจากวัดแห่งนี้อยู่ทางทิศตะวันออกของวัดดอนกลาง

บ้านยางงาม

              มีประวัติเล่าสืบกันมาว่า พื้นที่ตำบลดอนเป็นที่ราบสูง บริเวณนี้มีต้นไม้เนื้ออ่อนชอบขึ้น มีต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ มีต้นที่สวยงามมากซึ่งราษฎรนำไปแปรรูปเป็นไม้กระดาน ใช้ทำบ้านเรือนที่อาศัยต้นไม้นั้น ชาวบ้านเรียกว่า ต้นยาง เป็นต้นไม้ที่รู้จักกันดีของคนทั่วไป เมื่อมีการจัดตั้งหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงให้ชื่อหมู่บ้านตรงนี้ว่า “บ้านยางงาม” มาจนถึงบัดนี้
 

บ้านป่าสัก

             ไม่มีหลักฐานบันทึกไว้แน่ชัด เพียงแต่ฟังจากการบอกเล่ากันมาว่า คำว่าป่าสัก คงเป็นการเรียกชื่อตามสภาพของสถานที่ เพราะบริเวณที่เดิมเป็นป่าทึบ มีต้นไม้ชนิดหนึ่งขึ้นเต็ม เรียกว่า “ต้นสัก”  และเมื่อจัดตั้งหมู่บ้านจึงเรียกว่า บ้านป่าสัก และยังเล่าต่อกันอีกว่า ที่บริเวณนี้ เดิมมีวัดชื่อเคียน หรือ วัดเขียน  แต่ในปัจจุบันนี้ไม่มีอีกแล้ว ที่ดินวัดเดิมปัจจุบันเป็นที่ธรณีสงฆ์ เป็นสวนมะพร้าวของวัดดอนกลาง หมู่บ้านป่าสัก อยู่ห่างจากวัดดอนกลางไปทางทิศตะวันตก สุดเขตของตำบลดอน เมื่อถึงวันออกพรรษา ราษฎรจะชักพระจากวัดดอนกลาง วันดอนตะวันออก มาถึงหมู่บ้านแห่งนี้ ราษฎรจึงจัดสร้างสถานที่นี้ไว้สำหรับหยุดเรือพระ เรียกว่าศาลาหยุดพระ มีมาจนตราบทุกวันนี้

 

สภาพเศรษฐกิจและสังคม
30 พฤศจิกายน 542

0


สภาพเศรษฐกิจและสังคม
อาชีพ

              ตำบลดอนจัดว่าเป็นตำบลที่มีขนาดเล็ก ราษฎรส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินเพียงพอในการเพาะปลูกหลังฤดูทำนา บางครอบครัวออกไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ อาชีพของราษฎรแบ่งได้ตามลำดับ ดังนี้ ทำนา ทำสวนมะพร้าว ทำกระเบื้องดินเผา ทำอิฐมอญ ทำน้ำตาลโตนด  รับจ้างทั่วๆไป รับราชการและค้าขาย

ลักษณะภูมิประเทศ
30 พฤศจิกายน 542

0


ลักษณะภูมิประเทศของตำบลดอน

               ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงเป็นแหลมมีรูปร่างยาวรี เวิ้งว้างมากคล้ายมังกร เป็นที่อาศัยของราษฎรในพื้นที่ ส่วนที่ลุ่มจะเป็นพื้นที่โดยรอบของตำบลใช้เป็นพื้นที่สำหรับทำนา และประกอบไปด้วยแหลมต่างๆดังนี้  ด้านทิศใต้มี 4 แหลม คือ แหลมคอหัก แหลมบ่อกะเชือด แหลมหัวโกะ แหลมหัวมะม่วง แหลมหัวกระจายและแหลมหัวด้ง ส่วนทางทิศเหนือและทิศตะวันตกไม่ปรากฏว่ามีแหลมใด ปัจจุบันในทางทิศใต้มีคลองชลประทานตัดผ่านเป็นคลองสายใหญ่แนวใหญ่ นอกจากนี้ในคลองยังมีคลองชลประทานขนาดเล็กอีกหลายสาย การปลูกสร้างบ้านเรือนของราษฎรจะกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ บางหมู่บ้านการสร้างบ้านเรือนจะสร้างติดกันเป็นกลุ่มบ้านใหญ่